เมนู

4. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
พิจารณา
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็น
ต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อม
เกิดขึ้น.

4. อนันตรปัจจัย


[83] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย-
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน.
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.

ผล เป็นปัจจัยแก่ผล.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
จุติจิต ที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิต ที่เป็นอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ภวังค์ที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
ภวังค์ที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็นอเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
3. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม และ
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะ ที่เกิดหลัง ๆ และโมหะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่เกิดก่อนๆ
เป็นปัจจัยแก่โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่เกิดหลัง ๆ
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ปัญจวิญญาณ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
5. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่เกิด
ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
จุติจิตที่เป็นอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
ภวังค์ที่เป็นอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็นสเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นสเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
6. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม และ
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่เกิด
ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะ ที่เกิดหลัง ๆ และโมหะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
7. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
ที่เกิดก่อน ๆ และโมหะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
8. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่
เกิดก่อน ๆ และโมหะ เป็นปัจจัยแก่โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
9. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่
เกิดก่อน ๆ และโมหะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่เกิดหลัง ๆ และโมหะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


เหมือนอนันตรปัจจัย.

6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[84] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย เหมือนกับสหชาตปัจจัย ในปฏิจจวาระ.

ฆฏนาในที่นี้ ไม่มี.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย เหมือน
ในปฏิจจวาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย เหมือนกับ
นิสสยปัจจัย ในปฏิจจวาระ.
ฆฏนาในที่นี้ ไม่มี.